ระบบไฟฟ้า 1 เฟส และ 3 เฟส ต่างกันอย่างไรบ้าง ไฟฟ้าถือเป็นสิ่งจำเป็นอย่างมากในยุคปัจจุบัน เมื่อเวลาที่เกิดไฟฟ้าขัดข้องเราจะสามารถบอกได้ทันทีเลยว่าบ้านเรานั้นใช้ไฟฟ้ากี่เฟสกัน แล้วเรา รู้ได้อย่างไรว่าบ้านเราใช้ระบบไฟฟ้ากี่เฟส ? ระบบไฟฟ้า 1 เฟส คือ ระบบไฟที่ใช้ภายในบ้านเรือน มีการจ่ายไฟที่เหมาะสมต่อเครื่องใช้ไฟฟ้าภายในบ้าน ระบบไฟฟ้า 3 เฟส คือ ระบบไฟที่ใช้กับงานด้านอุตสาหกรรมที่มีเครื่องจักรขนาดใหญ่ ต้องใช้ไฟฟ้าในปริมาณมาก และอาจจะมีการเชื่อมต่อไฟฟ้าเพื่อไปใช้ในอาคารต่างๆ บนพื้นที่เดียวกัน ปัจจุบันบ้านเดี่ยวที่มีการใช้ไฟฟ้าในปริมาณมากหรือบ้านขนาดใหญ่ก็มีการใช้งานระบบไฟฟ้า 3 เฟสเช่นกัน วีธีที่ 1. ดูได้จากสายไฟที่ลากเข้าบ้าน ว่ามีการลากสายไฟเข้าบ้านกี่เส้น วิธีที่ 2. ดูได้จากหน้าจอมิเตอร์ เช่น Single Phase 2 Wire คือ 1 เฟส Three Phase 4 Wire คือ 3 เฟส ซึ่งระบบไฟฟ้าทั้ง 2 แบบ มีความแตกต่างกันในเรื่องแรงดันไฟฟ้า คือ 1 […]

ความแตกต่างระหว่าง AC และ DC Charger      ในปัจจุบันรถยนต์ไฟฟ้ากำลังเป็นที่นิยม คนเริ่มหันมาสนใจออกรถยนต์ไฟฟ้าเพื่อประหยัดค่าใช้จ่าย และช่วยรักษ์โลก นอกจากจะต้องศึกษารถยนต์ไฟฟ้าแต่ละรุ่นแล้ว เรื่องการชาร์จไฟฟ้าให้แก่ตัวรถก็สำคัญ เนื่องจากกระแสไฟฟ้าตามบ้านเรื่อนโดยทั่วไป มีกำลังไฟฟ้าที่ไม่เพียงพอต่อการชาร์จรถยนไฟฟ้า เพราะฉะนั้นจึงต้องมีการเตรียมในเรื่องของเครื่องชาร์จรถยนต์ไฟฟ้าภายในบ้านให้ดี โดยเครื่องชาร์จแบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ 1. AC Charger เครื่องชาร์จรถยนต์ไฟฟ้าแบบกระแสสลับ 2. DC Charger เครื่องชาร์จรถยนต์ไฟฟ้าแบบกระแสตรง โดยที่เครื่องชาร์จรถยนต์ไฟฟ้าที่นิยมใช้ภายในบ้านเรือนจะเป็นแบบ AC Charger โดยจะใช้ไฟฟ้ากระแสสลับตามบ้านเรือน จ่ายไฟเข้าที่รถยนต์ไฟฟ้าผ่านตัว On-Board Charger ของรถ แล้วเข้าไปเก็บที่แบตเตอรี่ โดยระยะเวลาในการชาร์จด้วยเครื่องชาร์จ AC Charger จะขึ้นอยู่กับตัว On-Board Charger ของรถแต่ละรุ่นด้วย ทำให้ระยะเวลาในการชาร์จอยู่ที่ 6-8 ชั่วโมง จึงเหมาะกับการใช้ตามบ้านเรือนที่สามารถจอดรถไว้เป็นเวลานานได้

ระบบของโซลาร์เซลล์

รู้จัก 3 ระบบ โซลาร์เซลล์ แบบไหนเหมาะกับใคร 1. On-grid System ระบบพลังงานแสงอาทิตย์ แบบออนกริด —- คือระบบโซลาร์เซลล์ที่เชื่อมต่อเข้ากับการไฟฟ้า (ไม่มีแบตเตอรี่) อุปกรณ์หลักประกอบด้วย แผงโซลาร์เซลล์และอินเวอร์เตอร์ออนกริด (inverter on grid) มีหลักการทำงาน โดยแปลงไฟฟ้ากระแสตรงจากแผงโซลาร์เซลล์เป็นไฟฟ้ากระแสสลับเพื่อเชื่อมต่อเข้าระบบการไฟฟ้า และนำไปใช้งานต่อไป 2. OFF Grid System ระบบพลังงานแสงอาทิตย์ แบบออฟกริด หรือ Stand Alone —- คือระบบโซลาร์เซลล์ ที่ไม่ต่อกับการไฟฟ้า ประกอบด้วย 2.1 ระบบโซลาร์เซลล์แสงอาทิตย์ แบบเชื่อมต่อกับแบตเตอรี่ (Off Solar grid connect system) ระบบออฟกริดเป็นระบบที่สามารถผลิตไฟฟ้าใช้ได้เอง โดยไม่ต้องพึ่งพาการไฟฟ้า ซึ่งมีวิธีการต่อระบบที่หลากหลาย ทั้งต่อโหลดกระแสตรงกับแผงโซลาร์เซลล์ (ซึ่งผลิตไฟฟ้ากระแสตรง) โดยตรง หรือนำไฟฟ้ากระแสตรงที่ผลิตได้จากแผงโซลาร์เซลล์ไปแปลงเป็นไฟฟ้ากระแสสลับ โดยอินเวอร์เตอร์ เพื่อใช้กับเครื่องใช้ไฟฟ้ากระแสสลับ 2.2 แผงโซลาร์เซลล์ต่อพ่วงกับแบตเตอรี่และโหลดกระแสตรง ข้อดีของการต่อระบบแบบนี้คือ เมื่อไม่มีแสงอาทิตย์ […]

Rapid Shutdown

ระบบหยุดทำงานฉุกเฉิน (Rapid Shutdown)           แม้ว่าระบบโซลาร์เซลล์จะถูกออกแบบและพัฒนามาเพื่อลดความเสี่ยงของการเกิดเพลิงไหม้ แต่กิจกรรมอื่น ๆ ภายในบ้านก็อาจเป็นเหตุให้เกิดเพลิงไหม้ได้ โดยปกติแล้วเมื่อเกิดเหตุเพลิงไหม้ นักผจญเพลิงจะตัดวงจรไฟฟ้าของอาคารเพื่อความปลอดภัยในการปฏิบัติงาน อุปกรณ์แปลงกระแสไฟฟ้า (Inverter) ชนิด On-Grid จะหยุดทำงานทันที แต่แผงโซลาร์เซลล์ที่ติดตั้งบนหลังคาก็ยังคงทำหน้าที่ผลิตพลังงานไฟฟ้าอยู่ตลอด ตราบใดที่ยังได้รับแสงอาทิตย์อยู่ ซึ่งความต่างศักย์ของแผงโซลาร์เซลล์แต่ละสตริงอาจสูงถึง 600 โวลต์ ซึ่งเป็นอันตรายแก่ผู้ที่กำลังปฏิบัติหน้าที่อยู่ได้ ระบบหยุดทำงานฉุกเฉิน (Rapid Shutdown) เปิดตัวครั้งแรกปี 2014 มาตรฐาน National Electrical Code (NEC) ประเทศสหรัฐอเมริกา มีจุดประสงค์เพื่อให้นักผจญเพลิงสามารถทำการหยุดจ่ายไฟฟ้ากระแสตรง (DC) จากแผงโซลาร์เซลล์ที่ติดตั้งบนหลังคาได้อย่างง่ายดายและรวดเร็ว เพื่อลดความเสียหายและความสูญเสียที่อาจเกิดขึ้นได้ ในปี 2017 NEC ได้กำหนดรายละเอียดการทำงานของ Rapid Shutdown จะต้องลดแรงดันไฟฟ้าตามขอบเขตรอบแผงโซลาร์เซลล์เป็นระยะ 1 ฟุต (305 มม.) ในทุกทิศทาง ดังนี้ วงจรโซลาร์เซลล์ที่อยู่ภายนอกขอบเขต เมื่อมีการเปิดการทำงาน rapid shutdown จะต้องสามารถลดแรงดันไฟฟ้า DC ลงเหลือไม่เกิน 30 โวลต์ภายใน […]